นักการตลาดต่างเลือกใช้ Music Marketing มาใช้เป็นช่องทางการสื่อสารโฆษณาให้กับแบรนด์ เพราะในปัจจุบันนี้เสียงเพลงเข้ามามีบทบาทมากมายในการดำเนินชีวิตตลอดเวลา ไม่ว่าจะออกไปรับประทานอาหารนอกบ้าน เดินชอปปิ้ง เสียงก็สามารถสร้างการจดจำได้ดี
การตลาดมิวสิค มาเก็ตติ้งคืออะไร?
คือการนำดนตรีเข้ามาช่วยในการทำการตลาด เป็นเครื่องมือที่ช่วยเชื่อมแบรนด์กับกลุ่มเป้าหมายเข้าด้วยกัน ให้ลูกค้ารู้จักตนเองในหลายมิติและไม่ได้เน้นขายเพียงอย่างเดียว แต่มิวสิค มาเก็ตติ้งมีการปรับตัวไปตามพฤติกรรมของคนฟัง และเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป สามารถสร้างมาแล้วทำให้คนจดจำแบรนด์ และเมื่อได้ยินเสียงดนตรีก็จะนึกถึงแบรนด์ของคุณในทันที เราของลองยกตัวอย่างของแบรนด์ที่ได้นำมิวสิค มาเก็ตติ้งเข้ามาใช้ในการโฆษณา
ความต่างของ Marketing for music กับ Music marketing
Marketing for music หมายถึงเมื่อศิลปินปล่อยผลงานออกมาใหม่ ไม่ว่าจะเป็นเพลง อัลบั้มหรือมีงานคอนเสิร์ต ศิลปินจะใช้เครื่องมือทางมาร์เก็ตติ้งเพื่อดึงให้คนเข้าไปฟังเพลงหรือไปงานคอนเสิร์ตมากขึ้น มีตัวอย่างที่น่าสนใจอย่างตอน Polycat ปล่อย EP The Ordinary Love Story ใช้กลยุทธทางการตลาดที่ไม่เหมือนใคร โดยปกติศิลปินจะปล่อยซิงเกิ้ลใหม่กันทีละเพลง แต่ Polycat ปล่อยรวดเดียวสามเพลงและทำมิวสิกวิดิโอออกมาเป็นตอน ๆ ที่ดูต่อกันเป็นซีรีส์ได้ ประกอบด้วยเพลง เพื่อนไม่จริง เวลาเธอยิ้ม และ พบกันใหม่ นอกจากนี้ ตัว mv ก็ไม่ได้ใช้การถ่ายทำใหม่ แต่กลับใช้ฟุตเทจจากภาพยนตร์เก่าอย่างเรื่อง ‘พริกขี้หนูกับหมูแฮม’ มาทำ เพราะว่าดนตรีก็เป็นซาวด์แบบยุค 80s ก็เลยเลือกใช้ภาพจากยุค 80 ด้วย ซึ่งผลของ Marketing for music ครั้งนี้ก็ถือว่าประสบความสำเร็จมาก เป็นสปริงบอร์ดที่ทำให้ Polycat ก้าวขึ้นมาเป็นศิลปินแถวหน้าของประเทศได้จากสามเพลงนี้
ส่วนมิวสิค มาเก็ตติ้ง คือ เครื่องมือในการเชื่อมโยงแบรนด์เข้ากับกลุ่มเป้าหมายเข้าด้วยกัน ตัวอย่างที่นึกถึงออกมาได้เร็ว ๆ คือ จิงเกิ้ลประกอบโฆษณา เพลงรีเม้ก หรือเพลงคัฟเวอร์ที่มีการเอาศิลปินมาเป็น Brand ambassador การทำอีเวนต์ หรือการสร้างคอนเทนต์ใหม่ ๆ แต่งเพลงใหม่ขึ้นมาเพื่อประกอบแคมเปญบางอย่างทางการตลาด
มิวสิค มาเก็ตติ้งสามารถทำได้หลายรูปแบบไม่ว่าเป็นการโฆษณาผ่าน Music Video โฆษณาคอนเสิร์ต ซึ่งไม่จำเป็นต้องบอกชื่อแบรนด์ แค่เราโชว์ตราสินค้า หรือ แต่งเพลงบอกเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ เข้าไปกับเนื้อเพลง และเลือกเพลงที่คิดว่าเหมาะกับผลิตภัณฑ์นั้น เพื่อสร้างความจดจำให้กับผู้บริโภครับรู้ได้ง่ายยิ่งขึ้น ดังเช่นโฆษณาต่างๆ ต่อไปนี้
เครื่องดื่มชูกำลังคาราบาว
แบรนด์นำเพลง “คนล่าฝัน” ของวง คาราบาว มานำเสนอผ่านคอนเซปต์คาราบาวที่ไม่มีแม้แต่เนื้อหา หรือคำบรรยายใดๆ รวมทั้งยังไม่มีแต่ผลิตภัณฑ์มาโชว์ให้เห็นเลย โดยมีแค่เสียงเพลงกับพี่แอ็ดเท่านั้นและจบท้ายด้วยโลโก้ของแบรนด์ ก็สร้างความจดจำให้กับผู้บริโภคจดจำและรับรู้ได้ทันทีเมื่อได้ยินเสียงเพลงนี้ว่าเป็นโฆษณาของแบรน์เครื่องดื่มชูกำลังคาราบาว
วีต้าเบอร์รี่สกัดเข้มข้น
ถ้าเป็นการทำโฆษณาทั่วไปก็จะเป็นการนำเสนอสินค้า คุณประโยชน์ต่าง ๆ เพียงเท่านั้น แต่เมื่อนำดนตรีเข้าไปใส่ คนจะจดจำได้ ถ้าได้ยินเสียงเพลง “หนังสือมีขนาดเท่าไร…ก็ยังต้องอ่าน งานออฟฟิตจะหนักเท่าไร แชท! แชท! กันต่อ ไป วีต้าเบอร์รี่ ที่เธอไว้ใจ”
MK
MK สร้างความจดจำต่อแบรนด์ให้กับผู้บริโภคโดยโฆษณา เป็นแนวเพลงสนุกสนาน ชวนเชิญผู้บริโภคมากิน MK ผ่านบทเพลง ซึ่งแน่นอนว่า MK ใช้เครื่องมือ Music Marketing มาใช้ในการทำสื่อแล้วประสบความสำเร็จ ผู้คนมากมายเมื่อได้ยินเสียงเพลง “กินอะไร กินอะไร กินอะไร ไปกินเอ็มเค หมึกกุ้ง (หมึกกุ้ง) หอยปลา (หอยปลา) ชื่นอุราเมื่อมาได้กิน What to eat, what to eat, What to eat, let’s eat MK. เป็ดย่าง หมูแดง ติ่มซำมากมายหลากหลาย กินอะไร (กินอะไร) กินอะไร (กินอะไร) กินอะไร ไปกินเอ็มเค กินอะไร (กินอะไร) กินอะไร (กินอะไร) กินอะไร ไปกินเอ็มเค” ผู้บริโภคสามารถจดจำได้ทันทีอีกทั้งยังสามารถร้องตามได้ด้วย และไม่มีผู้บริโภคคนไหนไม่รู้จักเพลงนี้
ทำไมการทำการตลาดแบบนี้ถึงได้รับความนิยม
การนำเหล่านักร้องและนักแสดงที่มีชื่อเสียงมาแต่งเพลงหรือร้องเพลง ชูจุดขายของแบรนด์ ก็เป็นที่นิยมอย่างมาก เพราะเป็นเครื่องมือในการเชื่อมแบรนด์เข้ากับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในเชิงอารมณ์ และการเล่าเรื่อง เช่น โตโยต้า ร่วมกับ ดา เอ็นโดรฟิน กับเพลง “ยิ่งรู้จัก ยิ่งรักเธอ” ที่ออกเผยแพร่ เพื่อฉลองครบรอบ 50 ปีโตโยต้า ซึ่งในภายหลังเพลงนี้มียอดวิวกว่า 34.6 ล้านครั้ง
การจัด Music Festival ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่แบรนด์ใหญ่ให้ความสนใจ เช่น เบียร์ช้าง ได้จัดคอนเสิร์ต “ช้าง มิวสิค คอนเนคชั่น มิวสิคโทรโพลิส มหานครดนตรี” ที่เชื่อมทุกมิตรภาพ SEASON 5 ภายใต้คอนเซปต์ “เติมเต็ม คำว่าเพื่อน” ให้ทุกคนได้มาสนุกสนานกับเพื่อนภายในงาน เป็นการสร้างเอนเกจเมนต์กับผู้บริโภคด้วย Music Marketing ถือเป็นการสร้าง Branded Content อย่างหนึ่ง เนื่องจากเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ ไม่สามารถโฆษณาได้อย่างปกติเหมือนกับสินค้าชนิดอื่น
ทั้งหมดนี้ทำให้เห็นได้ชัดว่า มิวสิค มาเก็ตติ้งช่วยเรื่องการตลาดของแบรนด์ได้เป็นอย่างมาก เพราะสมัยนี้โฆษณาที่มีคอนเทนต์ขายของแบบตรงๆ นั้นไม่ได้ผลกับผู้บริโภคเหมือนเมื่อก่อนอีกต่อไป ฉะนั้นถึง มิวสิค มาเก็ตติ้งจะมีต้นทุนที่สูง แต่แลกกับการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างแนบเนียนและมีประสิทธิภาพ ก็ถือว่าคุ้มค่าและน่าสนใจทีเดียว
ใบรับรองคุณวุฒิ Digital Marketing Certificate สำหรับนักการตลาดออนไลน์มืออาชีพ
ใบรับรองคุณวุฒิ Digital Marketing Certificate โดย ICDL Thailand by DBC คือ โอกาสที่ดีที่สุด สำหรับนักการตลาดออนไลน์มืออาชีพ ที่เป็นหนึ่งในเครื่องหมาย (Signal) ให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (Human Resource) ของบริษัทชั้นนำทั่วโลก รวมถึงบริษัทระดับขนาดกลางขนาดย่อมใช้ นอกเหนือจากเครื่องหมาย (Signal) อื่น อย่างเช่น สถาบันการศึกษา และระดับปริญญา เพื่อเลือก The Best Candidate เข้ามาทำงาน
มาค้นพบคำตอบว่า คุณคือตัวจริง แค่ไหนในสายงาน Digital Marketing ด้วยมาตรฐานครอบคลุมทักษะที่สำคัญและแนวคิดหลักการที่เกี่ยวข้องกับการตลาดดิจิทัล อาทิ Marketing Concept, Web Presence, Social Media Setup, Social Media Management, Online Marketing and Advertising, Analytics ฯลฯ
เพราะความรู้และสุขภาพ คือ การลงทุนที่จะไม่มีใครแย่งไปจากคุณได้ อย่าลืมว่าตัวคุณคือสินทรัพย์ที่สำคัญที่สุด
นำหน้าคนอื่นก่อนใคร
ด้วย ‘โอกาส’ ที่ดีกว่าเดิม